[x] ปิดหน้าต่างนี้
   
 

การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

สาระสำคัญ
                การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความสามารถของบุคคลเพื่อให้สามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดลอ้อม เพื่อให้มีความสุขตามสภาพและความสงบสุข ความลอดภัยในสังคม การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตมีสาระสำคัญ ดังนี้
                1) เป็นการพัฒนาทักษะชีวิตพื้นฐานของบุคคล เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
                2) เป็นการเรียนรู้โดยบูรณาการองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกัน
                3) เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งที่จะเสริมสร้างความสามารถให้กับบุคลเพื่อมีทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาเฉพาะด้านให้เหมาะสมกับพื้นที่และแต่ละสถานการณ์
 
นโยบาย
                ส่งเสริม สนับสนุนและจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ที่มีสาระสอดคล้องกับบริบทของสังคมและประเทศ เพื่อให้มีทักษะชีวิตที่จำเป็น และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งที่หน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนจัดเองและร่วมมือหรือสนับสนุนให้หน่วยงานหรือบุคคลอื่นๆ จัดและสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการตามความเหมาะสม

เป้าหมายสาธารณะ
                การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นบริการที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยจัดกิจกรรมการให้บริการ ดังนี้
                1) การจัดกลุ่มสนใจ
                2) การจัดกิจกรรมการศึกษา / ค่ายการเรียนรู้
                3) การฝึกอบรมประชาชน

ทักษะชีวิตพื้นฐานที่จำเป็น
                1. ด้านสุขภาพอนามัยและการป้องกันโรค
                2. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                3. ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
                4. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
 
แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
                1. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในรูปแบบกลุ่มสนใจ การฝึกอบรม กิจกรรมค่าย กิจกรรมชุมชน
                2. ส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้และรูปแบบกระบวนการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการในทุกกระบวนการเพื่อพัฒนาคนในทุกหลักสูตร
                3. พัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน โดยจัดการศึกษาในรูปแบบโครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้สอดคล้องกับวัย อาชีพ ความต้องการ และประสบการณ์ของผู้เรียน

ตัวชี้วัด
                1. เชิงปริมาณ
                    1) จำนวนผู้เข้ารับบริการ
                    2) จำนวนกิจกรรมที่จัด
                2. เชิงคุณภาพ
                    1) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
                    2) ประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ




เข้าชม : 762
 
 
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  จังหวัดหนองคาย
ถนนสืบศิริ ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมาโทรศัพท์ 0-4424-3350  0-4425-1039  0-4425-5895
โทรสาร  0-4425-8428 
ni_g@hotmail.com  nikorn@korat.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี