[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

  
 
ความรู้พื้นฐาน ASEAN






ความเป็นมา
       “ASEAN” เป็นคำย่อมาจาก “Association of South East Asian Nations” หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสาซึ่งก่อตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซียและฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้มีการลงนามใน“ปฏิญญากรุงเทพ” หรือปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกันในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมืองสร้างสรรค์ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคม และวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาค  และผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกและเปิดโอกาสให้คลายพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ
 
       ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยประเทศเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่ประเทศพม่าและประเทศลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ. 2540 และประเทศสุดท้าย คือ ประเทศกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

       1. ไทย (Thailand) (เข้าเป็นสมาชิก ปี 2510) 
       2. สิงคโปร์ (Singapore) (เข้าเป็นสมาชิก ปี 2510) 
       3. อินโดนีเซีย (Indonesia) (เข้าเป็นสมาชิก ปี 2510) 
       4. มาเลเซีย (Malaysia) (เข้าเป็นสมาชิก ปี 2510) 
       5. ฟิลิปปินส์ (Philippines) (เข้าเป็นสมาชิก ปี 2510) 
       6. บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) (เข้าเป็นสมาชิก ปี 2527) 
       7. เวียดนาม (Vietnam) (เข้าเป็นสมาชิก ปี 2538) 
       8. ลาว (Laos) (เข้าเป็นสมาชิก ปี 2540) 
       9. สหภาพพม่า (Union of Myanmar) (เข้าเป็นสมาชิก ปี 2540)
      10. กัมพูชา (Cambodia) (เข้าเป็นสมาชิก ปี 2542)
 
       ในปี พ.ศ. 2526 เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนได้ตกลงว่าสถานะผู้สังเกตการณ์ "ควรมอบให้เฉพาะกับรัฐที่มีศักยภาพเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนที่เป็นไปตามเกณฑ์สมาชิกภาพอาเซียน" โดยมีเกณฑ์ข้อหนึ่งซึ่งระบุว่า "มีเพียงรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนได้"
       ประเทศผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ คือ ติมอร์ตะวันออก ปาปัวนิวกินี และ บังกลาเทศ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ติมอร์ตะวันออกได้ยื่นคำร้องขอเป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นท่าทีที่ได้รับการสนับสนุนจากอินโดนีเซีย แต่ยังไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในที่ประชุมจึงถูกเลื่อนออกไป ในส่วนของปาปัวนิวกินี หนึ่งในประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ เป็นประเทศผู้สังเกตการณ์กลุ่มภูมิภาคอาเซียนนับแต่ พ.ศ. 2519 ก่อนหน้าประเทศสมาชิกอาเซียนที่มิได้เป็นสมาชิกก่อตั้งเสียอีก ข้อเท็จจริงที่ว่าปาปัวนิวกินีเป็นประเทศนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ เพราะขัดกับหลักเกณฑ์การรับสมาชิก 2 ประการ คือ 
      1) ประเทศไมได้ตั้งอยู่ในทางภูมิศาสตร์อันเป็นที่ยอมรับว่าอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
      2) ความเจริญก้าวหน้าของประเทศยังห่างไหลจากความสามารถที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของสมาชิกภาพ ส่วนบังกลาเทศได้รับการสนับสนุนจากลาวให้เข้ามาเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ในอาเซียน

สัญลักษณ์

       
        “ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้” หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 
ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
       สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง 
       สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า 
       สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
       สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง



ธงอาเซียน



คำขวัญ
"One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

ประเทศสมาชิกอาเซียน

       4. ลาว (Laos)
       10. ประเทศไทย (Thailand)

เหตุผลที่ก่อตั้งอาเซียน

          ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งเห็นว่าองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคน่าจะมีส่วนช่วยป้องกันการเกินความขัดแย้ง และส่งเสริมการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ปฏิญญากรุงเทพฯ กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์สำหรับอาเซียน 7 ประการ ได้แก่

      1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม

      2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค

      3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร

      4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย

      5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต

      6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      7. ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

สื่อความรู้เรื่องอาเซียน
 
  มารู้จักอาเซียนกันเถอะ  
 

รายงาน: กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนา

เข้าชม : 3006