[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

  
 
  การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อคนพิการ หลักสูตร กศน.2551  

จัดการศึกษาให้กับคนพิการ 3 ระดับ คือ

          - ระดับประถมศึกษา

          - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 

          - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


ประเภทคนพิการ
ความพิการ 9 ประเภท ได้แก่

1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นจนไม่สามารถรับการศึกษา ได้โดยการเห็นหรือใช้สายตาได้ตามปกติ แต่สามารถศึกษาเล่าเรียนได้โดยวิธีการต่างไปจากคนที่มองเห็นปกติแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. คนตาบอด หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นมากจนไม่สามารถอ่านหนังสือธรรมดาได้ ต้องสอน ให้อ่านและเขียนอักษรเบรลล์ หรือใช้วิธีการฟังแถบบันทึกเสียง หรือเครื่องบันทึกเสียต่าง ๆ และมีความสามารถในการเห็นของตาข้างที่ดี หลักจากได้รับการแก้ไขแล้วอยู่ระหว่าง 20 ส่วน 200 ฟุต มีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา

2. คนตาบอดบางส่วน หรือคนที่มีการเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่มีสูญเสียการเห็นแต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ได้ โดยต้องใช้แว่นขยายหรืออุปกรณ์พิเศษบางอย่างที่ทำให้ความชัดเจนของการเห็นใน ข้างที่ดี เมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ 20 ส่วน 60 ฟุต ถึง 20 ส่วน 200 ฟุต มีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา

2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับน้อยไปถึง ระดับรุนแรง จนไม่สามารถฟังเสียงได้เหมือนคนปกติซึ่งอาจจะเป็นหูตึง หรือหูหนวกก็ได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท

1. คนหูหนวก หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน ไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้เครื่องช่วยฟังก็ตาม โดยทั่วไป หาตรวจการได้ยินจะสูญเสียการได้ยินประมาณ 90 เดซิเบลขึ้นไป ไม่สามารถได้ยินเสียงพูดดัง ๆ อาจรับรู้เสียงบางเสียงได้ จากการสั่นสะเทือน ไม่สามารถใช้การได้ยินได้เป็นประโยชน์เต็มประสิทธิภาพ คนหูหนวกอาจสูญเสียการได้ยินมา ตั้งแต่กำเนิด หรือสูญเสียการได้ยินภายหลัง

2. คนหูตึง หมายถึง บุคคลที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้างสามารถได้ยินได้ ไม่ว่าจะใช้เครื่องช่วยฟังหรือหรือไม่ก็ตาม หากตรวจการได้ยินจะพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า 90 เดซิเบล ระดับการได้ยินอาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อยดังนี้

- ตึงเล็กน้อย (26-40 เดซิเบล)

- ตึงปานกลาง (41-55 เดซิเบล)

- ตึงมาก (56-70 เดซิเบล)

- ตึงรุนแรง (71-90 เดซิเบล)

3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง บุคคลที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าคนปกติทั่วไปทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษา เมื่อวัดสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้วมีสติปัญญาต่ำกว่าบุคคลปกติและ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ปกติอย่างน้อย 2 ทักษะ หรือมากกว่า เช่น ทักษะการสื่อความหมาย การดูแลตนเอง การดำรงชีวิตในบ้าน การควบคุมตนเอง สุขอนามัย และความปลอดภัย การเรียนวิชาการเพื่อชีวิตประจำวัน การใช้เวลาว่าง การทำงาน ทักษะทางสังคม และทักษะในการใช้สาธารณสมบัติ เป็นต้น ซึ่งลักษณะความบกพร่องทางสติปัญญาจะแสดงอาการแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ

1. บกพร่องระดับเล็กน้อย - ระดับเชาวน์ปัญญา (IQ) ประมาณ 55-70

2. บกพร่องระดับปานกลาง - ระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ประมาณ 40-55

3. บกพร่องระดับรุนแรง - ระดับเชาว์ระดับรุนแรงมาก (IQ) ประมาณ 25-40

4. บกพร่องระดับรุนแรงมาก - ระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ประมาณ 20-25

4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง บุคคลที่มีความผิดปกติ บกพร่องหรือสูญเสียอวัยวะ ส่วนใดสวนหนึ่งร่างกายทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีหรือมีอาการเกร็ง คือ อาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ส่วนใด ส่วนหนึ่งหรือหลายส่วน ควบคุมการทรงตัวได้ยากหรือไม่ได้เลย มีการเคลื่อนไหวของแขนขาไม่สัมพันธ์กันมีอาการสั่น เดินเซ หรืออาจเป็นบุคคลที่บกพร่องเนื่องจากสุขภาพ หรืออุบัติเหตุ อาการชัดโรคเรื้อรัง โรคติดต่อ เป็นต้น

ประเภทความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ อาจแบ่งได้ดังนี้

1. บกพร่องทางระบบประสาท เช่น บุคคลสมองพิการ (Cerabarl Palsy)ไม่ใช่บุคคลปัญญาอ่อนแต่หมายถึง สมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง หรือสูญเสียทำให้มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ซึ่งแต่ละคนมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี ซึ่งเต่ละคนทีมากน้อยแตกต่างกันความบกพร่อง จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ ประมาณ 7 ปี

ลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนของบุคคลสมองพิการ ได้แก่

- กล้ามเนื้อหดตัว เกร็ง (Spactic) เป็นลักษณะความผิดปกติของการควบคุมการเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวช้ามีอาการเกร็ง ซึ่งเราจะพบบุคคลที่มีอาการในกลุ่มนี้มากที่สุด

- กล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหวได้ยาก (Athetiod) มีลักษณะขนขาไม่สัมพันธ์กันหันไป ตามทิศทางต่าง ๆ

- กล้ามเนื้อตึงตัว (Ataxia) มีอาการสั่น เดินเซ ควบคุมการทรงตัวได้ไม่ดี ซึ่งเราจะพบบุคคล ที่มีอาการในกลุ่มนี้น้อยที่สุด

- แบบผสม มีลักษณะร่วมตั้งแต่ 2 ชนิด เช่น มีอาการเกร็งร่วมกับการเคลื่อนไหวของแขน ไม่สัมพันธ์กัน หันไปคนทิศหรือมีการเกร็ง ควบคุมการทรงตัวไม่ได้มีการสั่นเดินเซ เป็นต้น

2. บกพร่องทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น กล้ามเนื้อเปลี่ยน ไขข้ออักเสบ เป็นต้น

3. ไม่สมประกอบมาแต่กำเนิด เช่น น้ำครั่งในสมอง แขน ขาด้วยหรือกุด แขน ขามีขนาดใหญ่ เล็กผิดปกติ เป็นต้น

4. สภาพความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพอื่นๆ ได้แก่ บกพร่องจากอุบัติเหตุไฟไหม้ แขน ขาขาด โรคติดต่อ เช่น โปลโอ การได้รับอันตรายจากการคลอด หรือบกพร่อง เนื่องจากสุขภาพ เช่น โรคหืด โรคหัวใจ โรคปอด โรคเอดส์ เป็นต้น

5. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องทางการรับรู้หรือทางการเรียนรู้ที่มี ความ ผิดปกติอย่างเดียวหรือหลายอย่างทำให้เกิดปัญหาทางการฟัง การอ่าน การพูด การเขียน การสะกด การคำนวณ การใช้เหตุผล การรวบรวมความคิด ซึ่งความผิดปกตินี้ไม่ใช่เกิดจากภาวะบกพร่องทางการเห็น การได้ยินทางร่างกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์แต่เป็นภาวะทางสมองที่มีความผิดปกติทำให้การแปลภาพ การแปลเสียงหรือการรับรู้ แปรปรวนไปจากเดิมเด็กบางคนมองเห็นหนังสือกลับหลัง เด็กบางคนไม่สามารถแปลความหมายหรือเข้าใจจากการได้ยิน เด็กบางคนไม่เข้าใจตัวเลขและความหมายตัวเลข

6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องในเรื่องการออกเสียงพูด เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติ หรือคนที่มีความบกพร่องในเรื่องการเข้าใจ และการใช้ภาษาพูด การเขียนตลอดจนระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบภาษา เนื้อหาของภาษา และหน้าที่ของภาษา

7. บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง บุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากบุคคลทั่วไป และพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ต่อสิ่งต่างๆ และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับกันทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งขาดสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีความคับข้องใจ มีการเก็บกดทางอารมณ์โดยแสดงออกทางร่างกาย

ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์

- ก้าวร้าว ก่อกวน เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ มักแสดงออกในทางก้าวร้าว ก่อกวนความสงบของผู้อื่น พฤติกรรมที่แสดงออกอาจรวมไปถึงความโหดร้าย ทารุณสัตว์ ชกต่อย ทำร้ายตัวเองและผู้อื่น หวีดร้อง กระทืบเท้า ไม่เชื่อฟังครูและพ่อแม่ พฤติกรรมเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง

- การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หมายถึง ไม่หยุดนิ่ง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยปราศจากจุดหมาย นอกจากนี้ยังมีความสนใจสั้น สนใจในบทเรียนได้ไม่นาน ขาดสมาธิในการเรียน

- การปรับตัวทางสังคมเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ จะมีการปรับตัวทางสังคมไม่ถูกต้อง ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคม เช่น แก๊งอันธพาล การทำลายสาธารณสมบัติ ลักขโมย หนีโรงเรียน การประทุษร้ายทางเพศ พฤติกรรมเหล่านี้มักจะเกิดกับเด็กวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่

- ความวิตกกังวลและปมด้อย เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์อาจไม่กล้าพูดกล้าแสดงออกในชั้นเรียน มีอาการประหม่าขาดความเชื่อมั่นในตนเอง พฤติกรรมดังกล่าวต้องเป็นพฤติกรรมที่ค่อนข้างรุนแรงและเกิดขึ้นสม่ำเสมอ เท่านั้น จึงจัดว่าเป็นเด็กที่มีปัญหา

- การหนีสังคมหรือการปลีกตัวออกจากสังคมเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนอย่างหนึ่ง เช่น การที่เด็กไม่ค่อยพูด ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่ร่วมกิจกรรมขี้อาย ชอบอยู่คนเดียว บางคนเจ้าอารมณ์ บางคนแสดงออกทางสังคมไม่เหมาะสม

- ความผิดปกติทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์จะมีผลการเรียนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอ่าน การสะกดคำ การคำนวณ การตัดสินว่าเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมนั้น ควรพิจารณาความรุนแรงและความส่ำเสมอควบคู่ไปด้วย การตัดสินควรใช้เกณฑ์เป็นหลักในการพิจารณา

8. บุคคลออทิสติก

บุคคลออทิสติก หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรม อารมณ์ และจินตนาการ ซึ่งสาเหตุเนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองที่ผิดปกติไป และความผิดปกตินั้นพบได้ก่อนวัย 30 เดือน ลักษณะของเด็กออทิสติก มีดังนี้

1. มีความบกพร่องทางปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ไม่มองสบตาบุคคลอื่นไม่มีการแสดงออกทางสีหน้ากิริยาหรือท่าทางเล่นกับ เพื่อนไม่เป็น ไม่สนใจที่จะทำงานร่วมกับใครไม่เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลอื่น

2. มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร ทั้งการใช้ภาษาพูด ความเข้าใจภาษา การแสดงกิริยา สื่อความหมาย ซึ่งมีความบกพร่องหลายระดับ ตั้งแต่ไม่สามารถพูดสื่อความหมายได้เลย หรือคนพูดได้แต่ไม่สามารถสนทนาโต้ตอบกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ บางคนพูดแบบเสียงสะท้อนหรือพูดเลียนแบบทวนคำพูด บางคนจะพูดซ้ำในเรื่องที่ตนเองสนใจ มีการใช้สรรพนามสลับที่ ระดับเสียงพูดอาจมีความผิดปกติ บางคนพูดโทนเสียงเดียว บางคนพูดไม่มีความหมาย

3. มีความบกพร่องด้านพฤติกรรมและอารมณ์ บางคนมีพฤติกรรมซ้ำๆ ผิดปกติ เช่น เล่น โบกมือไปมาหรือหมุนตัวไปรอบ ๆ เดินเขย่งเท้าปลาย ท่าทางเดินงุ่มง่าม ยึดติดโดยไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใดๆการแสดออกทางอารมณ์ไม่เหมาะสมกับวัย บางคนร้องไห้หรือหัวเราะโดยไม่มีเหตุผล บางคนมีอารมณ์ก้าวร้าว รุนแรงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

4. มีความบกพร่องด้านการรับรู้และประสาทสัมผัส การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าคือ การรับรู้ทางการเห็นการตอบสนองต่อการฟัง การสัมผัส การรับกลิ่นและรส มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล บางคนชอบมองแสง บางคนตอบสนองต่อเสียงผิดปกติ รับเสียงบางเสียงไม่ได้ ด้านรับสัมผัสกลิ่นและรส บางคนตอบสนองช้าหรือไว หรือแปลกว่าปกติ เช่น ชอบดมของเล่น เป็นต้น

5. มีความบกพร่องด้านการใช้อวัยวะต่าง ๆ อย่างประสานสัมพันธ์กัน การใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายรวมถึงการประสานสัมพันธ์ของกลไกกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็กมี ความบกพร่องบางคนเคลื่อนไหวงุ่มง่ามผิดปกติไม่คล่องแคล่ว ท่าทางเดินหรือวิ่งแปลก การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับไท่ประสานกัน

6. มีความบกพร่องด้านจินตนาการ ไม่สามารถแยกเรื่องจริงเรื่องสมมุติ หรือประยุกต์วิธีการจากเหตุการณ์หนึ่งไปยังอีกเหตุการณ์หนึ่งได้ เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ยาก เล่นบทบาทสมมุติไม่เป็น จัดระบบความคิด ลำดับความคิด ลำดับความสำคัญก่อนหลัง คิดจินตนาการจากภาษาได้ยาก ทำให้เกิดอุปสรรค

7. มีความบกพร่องด้านสมาธิมีความสนใจสั้น ไม่อยู่นิ่ง

9. บุคคลพิการซ้อน

บุคคลพิการซ้อน (Mutiple Handicapped) หมายถึงบุคคลที่มีความบกพร่องตั้งแต่อย่าง ขึ้นไปในบุคคล เดียวกันอาจแบ่งตามลักษณะได้ตามความพิการที่เห็นชัดเจน เช่น

1. บกพร่องทางการเห็นร่วมกับบกพร่องอื่นๆ เช่น การได้ยิน สติปัญญา ร่างกาย การเรียนรู้ สมาธิสั้น เป็นต้น

2. บกพร่องทางร่างกายร่วมกับบกพร่องอื่นๆ เช่น สติปัญญา การเห็น การได้ยิน การเรียนรู้ ออทิสติก สมาธิสั้น เป็นต้น

3. บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับบกพร่องอื่น ๆ เช่น สติปัญญา การเห็น ร่างกาย การเรียนรู้สมาธิสั้น เป็นต้น

4. บกพร่องทางสติปัญญากับบกพร่องอื่น ๆ เช่น ร่างกาย ออทิสติก สมาธิสั้น เป็นต้น

ลักษณะ ความพิการซ้อนมีมากมายหลายประเภท โดยอาจจับคู่ๆ ดังกล่าวข้างต้น หลายคนมีลักษณะความพิการซ้อนมากกว่า 2 อย่าง และมีความต้องการพิการเศษแตกต่างกันต้องได้รับการช่วยเหลือตามความต้องการ เพื่อพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล


วิธีเรียน กศน. มีรูปแบบการเรียนรู้ 7 รูปแบบ คือ

1) การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม

2) การเรียนรู้ด้วยตนเอง

3) การเรียนรู้แบบทางไกล

4) การเรียนรู้แบบชั้นเรียน

5) การเรียนรู้ตามอัธยาศัย

6) การเรียนจากการทำโครงงาน

7) การเรียนรู้แบบอื่น ๆ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายๆ รูปแบบก็ได้

 

 คุณสมบัติ การรับสมัครและการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาคนพิการ

          1. รับนักศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทความพิการ โดยมีศักยภาพที่สามารถช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นได้

          2. มีความพร้อมที่จะสามารถรับรู้เรียนรู้ได้

          3. อายุ 16 ปีขึ้นไป

          4. รับสมัครที่ กศน.อำเภอเมืองหนองคาย, ท่าบ่อ, โพนพิสัย, สังคม, รัตนวาปี

         นอกจากนั้น คนพิการที่มีความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ หรือประสบการณ์จากการทำงาน สามารถขอรับการประเมินเทียบระดับการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ โดยสมัครได้ที่สถานศึกษาสังกัดสำนักงาน กศน. ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นสถานศึกษาที่ทำหน้าที่ประเมินเทียบระดับการศึกษา

 ประโยชน์ที่ผู้รับบริการจะได้รับ

          1. ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ ความพิการเป็นรายบุคคล

          2. ด้านการจัดทำแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอน เฉพาะบุคคล (IIP)

          3. ด้านการกระตุ้นการเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรมและสังคม

          4. ด้านการจัดการเรียนรู้ มีรูปแบบที่หลากหลาย และเหมาะสมเป็นรายบุคคล

          5. ด้านการบูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหา สาระสอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตประจำวัน

          6. ด้านการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับครอบครัว/ชุมชน/สังคมและบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี

          7. ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ตามกฎกระทรวงฯอย่างมีประสิทธิภาพ ตามความต้องการเป็นรายบุคคล

 

          8 .ด้านการประสานงานการส่งต่อ และการช่วยเหลือระยะเริ่มแรกเช่น แพทย์นักการศึกษา นักกายภาพ

สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอน
          - กศน.อำเภอเมืองหนองคาย
          - กศน.อำเภอท่าบ่อ
          - กศน.อำเภอโพนพิสัย
          - กศน.อำเภอสังคม
          - กศน.อำเภอรัตนวาปี


รายงาน: กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนา
ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557




เข้าชม : 1569