การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
โดย จัด ส่งเสริม และพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลและกลุ่มบุคคล พัฒนาศักยภาพของบุคคลและชุมชนสอดคล้องกับวิถีชีวิต ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ การสร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรัสบการณ์ แก้ปัญหาการว่างงาน และส่งเสริมความเข็มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ มี 4 ประเภท คือ
1 การฝึกทักษะอาชีพ โดยจัดการศึกษาด้านอาชีพหลักสูตรระยะสั้น เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน ให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการอาชีพ
2 การเข้าสู่อาชีพ เป็นการพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ
3 กลุ่มพัฒนาอาชีพ เป็นการส่งเสริมความรู้และประสบการณ์แก่กลุ่มที่มีอาชีพประเภทเดียวกัน ให้สามารถพัฒนาปริมาณและคุณภาพผลผลิตเข้าสู่การจำหน่ายมีรายได้ยิ่งขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม
4 การพัฒนาด้วยเทคโนโลยี เป็นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอาชีพและศักยภาพแก่ตนเองและกลุ่มการ จัดการศึกษาอาชีพทั้ง 4 ประเภท เป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องทั้งการเรียนรู้และการประกอบอาชีพ มิได้แยกจากกันโดยเด็ดขาด เช่น เมื่อเรียนพัฒนาอาชีพ อาจจะต้องการความรู้ ทักษะอาชีพบางอย่างที่มีเสริมให้อาชีพที่ดำเนินการอย่างมีคุณค่ามากขึ้น
เข้าชม : 797 |