[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ภาวะความดันโลหิตสูง (High Blood Pressure) คืออะไร
โดย : ดร. วันชัย   เมื่อวันที่ : เสาร์ ที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560   


ภาวะความดันโลหิตสูง (High Blood Pressure) คืออะไร

https://www.honestdocs.co/high-blood-pressure

www.honestdocs.co

ความดันโลหิต คือ แรงของเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด ในขณะที่หัวใจบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ภาวะความดันโลหิตสูงจึงหมายถึง การที่ค่าความดันในหลอดเลือดแดงมีค่าสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งหากค่าความดันโลหิตยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างต่อร่างกายได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย เป็นต้น ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมากจนอาจพูดได้ว่าเกือบทุกคนต้องเคยประสบกับภาวะนี้อย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงชีวิต
เมื่อไรจึงจะเรียกได้ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง
เมื่อค่าความดันโลหิตที่วัดได้มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) โดยเมื่อวัดซ้ำแล้วค่ายังคงไม่ลดลง
ภาวะความดันโลหิตสูงพบได้บ่อยเพียงใด
ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบได้บ่อยทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว ประชากร 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่หรือประชากรมากกว่า 76 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูง
ปัจจัยดังต่อไปนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ เช่น
อายุ: ความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะผู้ชายที่อายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี
เชื้อชาติแอฟริกัน - อเมริกัน: พบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคเร็วกว่า และรุนแรงกว่า หากเกิดภาวะแทรกซ้อนจะอันตรายกว่ามาก
ประวัติครอบครัว: ความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะสืบทอดทางพันธุกรรมได้
ความอ้วน: โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบแคบและทำให้ค่าความดันโลหิตสูงขึ้นได้
พฤติกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ: การที่ร่างกายเฉื่อยชาไม่ได้ออกกำลังกาย มักมีความเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และอัตราการเต้นของหัวใจที่มากขึ้น ซึ่งทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น
การสูบบุหรี่ และผู้ที่ได้รับควันบุหรี่: สารเคมีในบุหรี่สามารถทำลายผนังหลอดเลือดแดงได้ ซึ่งทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง นำไปสู่ความดันโลหิตที่สูงขึ้น
การเลือกทานอาหาร: อาหารบางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงได้ เช่น
อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำเข้าไปมากและเกิดภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราว
อาหารที่มีโพแทสเซียมน้อยเกินไป ทำให้ไม่สามารถรักษาระดับของโซเดียมในเซลล์ได้ นำมาซึ่งภาวะโซเดียมเกินในเลือด
วิตามินดี การรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีน้อยไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากกว่า 170 มิลลิลิตรสำหรับผู้ชาย และ 85 มิลลิลิตรสำหรับผู้หญิง
ความเครียด: ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราวได้
โรคเรื้อรัง: เช่น โรคไตเรื้อรัง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือโรคเบาหวาน
การตั้งครรภ์
การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด
ภาวะความดันโลหิตสูงในเด็ก
ปัจจุบันตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงในเด็กและวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
โรคไตหรือโรคหัวใจ
พฤติกรรมแย่ ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด การไม่ออกกำลังกาย
เด็กที่มีเชื้อสายแอฟริกันอเมริกันและเม็กซิกันอเมริกัน มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว
เด็กผู้ชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเด็กผู้หญิง
ภาวะแทรกซ้อน
หากไม่ได้รับการรักษา ภาวะความดันโลหิตสูงสามารถนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น
โรคหลอดเลือดในสมองตีบ/แตก
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
หัวใจล้มเหลว
ไตวาย
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
โรคจอประสาทตาเสื่อม


เข้าชม : 209





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ตาก
อำเภอโพธิ์ตาก  จังหวัดหนองคาย 0-4248-3258 , Fax  0-4248-3258 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายจักรพงษ์ จุลสราญพงษ์, นายศุภกิตติ์ ถาวร