[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้
โรคสมาธิสั้น (ADHD) คืออะไร?
โดย : นพ. ปรีชา มุกดาสกุลภิบาล   เมื่อวันที่ : เสาร์ ที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560   


โรคสมาธิสั้น (ADHD) คืออะไร?

https://www.honestdocs.co/adhd
https://www.honestdocs.co

อาการของโรคนี้คือการมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและโรคนี้สามารถส่งผลระทบต่อชีวิตของเด็กได้ในทุกด้าน
โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่น ไม่มีสมาธิ และซน โรคนี้มักวินิจฉัยในเด็กแต่อาการของโรคยังสามารถคงอยู่ได้จนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้ การรักษาที่เหมาะสมจะทำให้เด็กที่เป็นโรคนี้สามารถมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จ
ADHD vs. ADD
Attention deficit disorder (ADD) เป็นชื่อโรคเดิมของโรคสมาธิสั้นในปัจจุบัน โดยชื่อ ADD นั้นได้ใช้ต่อเนื่องมาจถึงปี ค.ศ. 1987 ก่อนที่จะมีการเพิ่มคำว่า hyperactivity เข้าไป ตามที่ระบุไว้ใน Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders ในปัจจุบันยังมีการใช้คำว่า ADD และ ADHD ในความหมายเดียวกันหรือบางคนอาจเรียกเด็กที่มีปัญหาเฉพาะด้านสมาธิแต่ไม่ซนว่าเป็นกลุ่ม ADD แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากเห็นด้วยว่าคำว่า ADD ถือเป็นคำที่ล้าสมัยไปแล้วและการใช้คำนี้เป็นการะบุถึงโรคที่อาจทำให้เกิดความสับสนได้ เพราะว่าโรค ADHD ก็มีประเภทย่อยต่างๆ ที่สามารถอธิบายแต่ละภาวะได้อยู่แล้ว
ประเภทของโรคสมาธิสั้น
โรคนี้สามารถบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อยๆ คือ
กลุ่มที่มีอาการซนและหุนหันพลันแล่นเด่น : เด็กกลุ่มนี้มักมีปัญหากับเรื่องซนและหุนหันพลันแล่นเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็อาจจะมีอาการของการขาดสมาธิบางอย่างได้
กลุ่มที่มีอาการสมาธิสั้นเด่น : เด็กกลุ่มนี้มีอาการทางด้านของสมาธิเด่น แต่ก็อาจมีบางอาการของอาการซนและหุนหันพลันแล่นได้เช่นกัน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคยเรียกว่า ADD
กลุ่มที่มีอาการด้านซนและหุนหันพลันแล่นร่วมกับสมาธิสั้น : เด็กกลุ่มนี้มีอาการทั้งซน หุนหันพลันแล่น และสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นโรคสมาธิสั้นพบได้ในประชากรผู้ใหญ่ประมาณ 4% ในประเทศสหรัฐอเมริกา อ้างอิงจากสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (National Institute of Mental Health หรือ NIMH) ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ทุกคนมีอาการตั้งแต่เด็ก แต่อาจจะไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น ในผู้ใหญ่สามารถก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านความสัมพันธ์ การทำงาน และความเชื่อมั่นในตนเอง
ผู้ป่วยโรคนี้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองมีภาวะนี้ พวกเขาอาจรู้แค่ว่าสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำในแต่ละวันนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากและท้าทาย บางคนอาจสังเกตว่าอาการของตนเองค่อยๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่อีกหลายคนยังคงมีอาการอยู่ต่อเนื่อง ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคนี้มากกว่า 75% จะยังมีอาการต่อเนื่องเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อ้างอิงจาก องค์การ CHADD (Children and Adults with Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder)
โรคสมาธิสั้นในเด็ก
CHADD กล่าวว่าโรคนี้พบได้ประมาณ 11% ของเด็กวัยเรียนและพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กหญิงถึงสี่เท่า เด็กที่มีภาวะนี้มักมีอาการที่ทำให้เกิดปัญหาทั้งในที่บ้าน โรงเรียน หรือในสังคม พ่อแม่และครูมักเข้าใจผิดว่าอาการของโรคนี้เป็นอาการจากปัญหาทางด้านอารมณ์หรือพฤติกรรม
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่แน่ใจว่าโรคนี้เกิดจากอะไร ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคสมาธิสั้นในเด็ก ประกอบด้วย
พันธุกรรม (โรคนี้มีการถ่ายทอดในครอบครัว) แม้ว่าจะยังไม่สามารถระบุ gene ที่ชัดเจนได้
การสัมผัสสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะตะกั่ว
การใช้แอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
การเกิดอันตรายต่อสมอง
การคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
นอกจากนั้นยังมีความเชื่อที่ได้รับความนิยมหลายอย่าง เช่น การรับประทานน้ำตาลมากเกินไป การเลี้ยงดูที่ไม่ดี หรือการดูโทรทัศน์มากเกินไปจะทำให้เป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งแม้ว่าปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่ออาการของเด็ก แต่งานวิจัยไม่ได้สนับสนุนว่าปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคสมาธิสั้น
หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น
ล้มเหลวทางการศึกษา
มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
เกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บ
การติดแอลกอฮอล์หรือยา
พฤติกรรมที่ผิดกฏหมาย
ปัญหาในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
โรคที่สามารถเกิดร่วมกันได้
เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นยังอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอื่นร่วมด้วย เช่น
โรควิตกกังวล
ความบกพร่องทางการเรียนรู้
โรคซึมเศร้า
โรคสองขั้ว (ภาวะที่มีอาการทั้งซึมเศร้าและ mania)
โรคดื้อ (Oppositional defiant disorder หรือ ODD) เป็นโรคที่มีอาการต่อต้านกฎระเบียบทุกรูปแบบ
โรคเกเร (Conduct disorder) เป็นโรคที่มีพฤติกรรมเช่นการโกหก ขโมยของ ต่อสู้ หรือล้อเลียนผู้อื่น
Tourette syndrome เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางระบบประสาทที่จะมีพฤติกรรมซ้ำๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ
ปัญหาทางการนอนหลับ
ปัสสาวะรดที่นอน


เข้าชม : 193





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ตาก
อำเภอโพธิ์ตาก  จังหวัดหนองคาย 0-4248-3258 , Fax  0-4248-3258 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายจักรพงษ์ จุลสราญพงษ์, นายศุภกิตติ์ ถาวร