[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้
โรคภูมิแพ้ (Allergies) คืออะไร?
โดย : ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม   เมื่อวันที่ : เสาร์ ที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560   


โรคภูมิแพ้ (Allergies) คืออะไร?

https://www.honestdocs.co/allergies

https://www.honestdocs.co

โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นในเด็ก แต่ในขณะเดียวกันโรคภูมิแพ้ก็สามารถเกิดขึ้นในผู้ใหญ่ได้ด้วย
โรคภูมิแพ้เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่ายกายตอบสนองต่อสารบางอย่าง ซึ่งเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ อย่างรุนแรง โดยสารก่อภูมิแพ้มักพบได้โดยทั่วไป เช่น ละอองเกสร รังแคของสัตว์ และพิษของผึ้ง ซึ่งในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ร่างกายจะทำการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ว่าเป็นสารที่อันตรายต่อร่างกาย จึงทำให้ร่ายกายพยายามที่จะกำจัดสารเหล่านั้นออก และทำให้เกิดอาการแพ้ตามมา โดยอาการแพ้เหล่านั้นเป็นได้ตั้งแต่อาการแพ้เล็กน้อย อาการแพ้รุนแรง จนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต
อิมมูโนโกลบูลิน อี (IgE) คืออะไร?
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ โดยการสร้างสารภูมิต้านทาน (Antibody) ที่เรียกว่า อิมมูโนโกลบูลิน อี (IgE) ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายสารก่อภูมิแพ้ แต่ในขณะเดียวกัน อิมมูโนโกลบูลิน อี (IgE) ที่ร่างกายสร้างขึ้นนั้น ก็จะส่งสัญญาณให้เซลล์ในร่ายกาย ปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมา เช่น ฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเมื่อฮิสตามีน (Histamine) มีปริมาณมากเกินไป จะส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่ออวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น ผิวหนัง จมูก คอ และ ปอด
ใครบ้างที่จะเป็นภูมิแพ้?
จากข้อมูลของ American College of Allergy, Asthma, and Immunology พบว่า 1 ใน 5 ของชาวอเมริกัน (ประมาณ 50 ล้านคน) เป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งโรคภูมิแพ้จัดเป็นโรคลำดับที่ 6 ที่มักจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากกว่า 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ประมาณ 600,000 ล้านบาท)
แม้ว่าทุกคนสามารถเกิดโรคภูมิแพ้ได้ แต่โรคนี้มักเกิดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ความชุกการแพ้อาหารและภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กเพิ่มมากขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมาโดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นนี้ จากข้อมูลของ FARE (Food Allergy Research & Education) พบว่าเด็ก 1 คนในเด็กอเมริกัน 13 คน จะมีอาการแพ้อาหาร
โรคภูมิแพ้มีกี่ชนิด?
อาการของโรคภูมิแพ้แบ่งออกเป็นหลายชนิด บางชนิดเป็นตามฤดูกาล บางชนิดอาจเกิดได้ตลอดปี ซึ่งสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย ประกอบไปด้วย
ละอองเกสรดอกไม้
ไรฝุ่น
ขนสัตว์และรังแคของสัตว์
แมลงสาป
เชื้อรา
อาหาร เช่น ไข่ ปลา นม ถั่ว ข้าวสาลี ถั่วเหลือง หอย
เหล็กในหรือการกัดของแมลงบางชนิด เช่น ตัวต่อ ผึ้ง ยุง มดคันไฟ หมัด แมลงวัน ริ้นดำ
ยา เช่น ยากลุ่ม เพนิซิลิน (Penicillin) หรือ แอสไพริน (Aspirin)
ลาเทกซ์ (Latex)
สารเคมีที่ใช้ในบ้าน เช่น ผงซักฟอก
โลหะ เช่น นิกเกิล (Nickle) โคบอล์ต (Cobalt) โครเมียม (Chromium) และ สังกะสี (Zinc)
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้จะเพิ่มมากขึ้นถ้าหากคุณ...
มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด
มีคนในครอบครัวเป็นโรคหอบหืดหรือโรคภูมิแพ้
อายุน้อยกว่า 18 ปี
ในบางครั้งพบว่าโรคภูมิแพ้ในเด็กสามารถดีขึ้นหรือหายได้เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น หรือ อาการแพ้อาจจะหายไปได้เองและสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้ในอีกไม่กี่ปีถัดมา
อาการแทรกซ้อนของโรคภูมิแพ้
ในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงบางราย อาจเกิดอาการแพ้รุนแรงจนทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งอาการนี้เรียกว่า แอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis) โดยอาการที่รุนแรงนี้มักเกิดจากโรคภูมิแพ้ซึ่งเกิดจาก อาหาร ยากลุ่มเพนิซิลิน (Penicillin) และ พิษของแมลง ซึ่งอาการของแอนาฟิแล็กซิส ประกอบไปด้วย
ความดันต่ำ
ไม่รู้สึกตัว
หายใจหอบเหนื่อย
ผื่นผิวหนัง
ชีพจรเบาและเร็ว
คลื่นไส้อาเจียน
เวียนศีรษะ
หายใจมีเสียงวี้ดรุนแรง
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้
โรคหอบหืด (โรคทางทางเดินหายใจที่เกิดจากทางเดินหายใจอักเสบและตีบแคบ ทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจเสียงวี้ด และหายใจลำบาก)
ผื่นผิวหนังอักเสบ
โรคติดเชื้อที่หูหรือที่ปอด
ไซนัสอักเสบ
ริดสีดวงจมูก
อาการปวดหัวไมเกรน
การป้องกันการเกิดอาการแพ้
วิธีการป้องกันการเกิดอาการแพ้หรือจำกัดความรุนแรงของอาการแพ้ ทำได้โดยปฏิบัติตามข้อ ดังต่อไปนี้
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ : ซึ่งอาจทำได้ยาก ขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งที่แพ้ เช่น หากแพ้รังแคของสัตว์ อาจทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ หากแพ้ละอองเกสรดอกไม้ อาจหลีกเลี่ยงโดยการอยู่ในตัวอาคาร ไม่ออกไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีละอองเกสรจำนวนมาก
ทำสมุดบันทึก : เพื่อหาสาเหตุของอาการแพ้ หรือหาปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการแพ้รุนแรงขึ้น โดยการจดบันทึกเกี่ยวกับ สิ่งที่รับประทานหรือกิจกรรมที่ทำ
ใส่สร้อยข้อมือหรือสร้อยคอที่ระบุว่าเป็นโรคภูมิแพ้ (medical bracelet or necklace) : เพื่อให้ผู้อื่นรู้ได้ว่าเป็นโรคภูมิแพ้ในกรณีที่ไม่สามารถสื่อสารได้ขณะเกิดอาการแพ้
ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการแพ้รุนแรง อาจจำเป็นต้องพกยาอิพิเนฟริน (Epinephrine) เพื่อใช้ในกรณีที่เกิดแอนาไฟแล็กซิส (Anaphylaxis) ควรปรึกษาแพทย์หากสงสัยว่าอาจมีความจำเป็นต้องได้รับยา


เข้าชม : 188





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ตาก
อำเภอโพธิ์ตาก  จังหวัดหนองคาย 0-4248-3258 , Fax  0-4248-3258 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายจักรพงษ์ จุลสราญพงษ์, นายศุภกิตติ์ ถาวร