[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้
คออักเสบ (Strep throat) คืออะไร?
โดย : ดร. สมกิต   เมื่อวันที่ : เสาร์ ที่ 20 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560   


คออักเสบ (Strep throat) คืออะไร?

www.honestdocs.co/strep-throat

www.honestdocs.co


อาการเจ็บคอคืออาการแสดงที่พบได้บ่อยในหลายโรค
คออักเสบคืออาการเจ็บคอที่เกิดจากการอักเสบบริเวณด้านหลังของลำคอ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุด คออักเสบสามารถทำให้เกิดอาการกลืนเจ็บ เจ็บคอ ไม่สบายข้างในคอได้ คออักเสบมักเกิดร่วมกับอาการป่วยอื่นๆ เช่นหวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือ mononucleosis และอาการเจ็บคอนี้มักหายได้ภายใน 1 อาทิตย์
สาเหตุของการเกิดคออักเสบ
คออักเสบเกิดจากการบวมด้านหลังของลำคอ ระหว่างต่อมทอนซิลและกล่องเสียง อาการเจ็บคอนี้มักจะเกิดในช่วงเดือนที่มีอากาศหนาว และมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเช่นโรคหวัด, ไข้หวัดใหญ่, mononucleosis, โรคหัด โรคอีสุกอีใสและโรค croup
อย่างไรก็ตามแบคทีเรียในกลุ่ม Streptococcus group A ไอก้อง (จากการติดเชื้อ Bordetella pertussis) หรือกลุ่มอาการคอตีบสามารถทำให้เกิดคออักเสบได้เช่นกัน ภาวะนี้จะติดต่อระหว่างคนได้ผ่านการหายใจนำแบคทีเรีย หรือไวรัสที่อยู่ในอากาศเข้าไป หรือการสัมผัสบริเวณที่มีเชื้อโรค โรคอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้เช่น ภูมิแพ้ อาการแห้ง การระคายเคือง การที่กล้ามเนื้อที่คอหดเกร็ง กรดไหลย้อน การติดเชื้อ HIV หรือการมีเนื้องอกในคอ ลิ้น หรือกล่องเสียง
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดคออักเสบ
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดคออักเสบประกอบด้วย
•  ฤดูกาลของไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
•  มีการใกล้ชิดกับคนที่มีอาการเจ็บคอหรือเป็นหวัด
•  การสูบบุหรี่ หรือการได้รับบุหรี่ผ่านการสูดดม
•  การติดเชื้อในโพรงจมูกบ่อยๆ
•  ภูมิแพ้
•  การอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก
อาการของโรคคออักเสบ
อาการของโรคคออักเสบประกอบด้วย
•  เจ็บคอ
•  มีไข้
•  ปวดหัว
•  ปวดข้อและกล้ามเนื้อ
•  มีผื่น
•  ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
อาการแสดงอาจแตกต่างกันขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ตัวอย่างเช่น
อาการเจ็บคอกับไข้หวัด
•  น้ำมูก
•  ไอ
•  ไข้ต่ำกว่า 120 องศาฟาเรนไฮต์
•  ปวดหัวเล็กน้อย
อาการเจ็บคอร่วมกับไข้หวัดใหญ่
•  อ่อนเพลีย
•  ปวดตามร่างกาย
•  หนาวสั่น
•  ไข้สูงกว่า 120 องศาฟาเรนไฮต์
อาการเจ็บคอกับโรค mononucleosis
•  ต่อมน้ำเหลืองที่คอและข้อพับที่ศอกโต
•  ต่อมทอนซิลโต
•  ปวดหัว
•  เบื่ออาหาร
•  ม้ามโต
•  มีการอักเสบที่ตับ
การวินิจัฉัยโรคคออักเสบ
แพทย์มักทำการวินิจฉัยจากการตรวจร่างกาย เช่นการวัดอุณหภูมิ ดูคอ หู และจมูก ตรวจคอหาต่อมน้ำเหลืองที่โต และฟังเสียงปอด นอกจากนั้นอาจมีการป้ายบริเวณคอเพื่อทำการเพาะเชื้อ หรือตรวจหาเชื้อ Streptococcus Group A (ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอได้) ในบางคลินิกอาจได้ผลทันทีแต่บางที่อาจต้องส่งตัวอย่างที่เก็บไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ
หากผลตรวจแบบเร็วที่คลินิกเป็นบวก แสดงว่าคุณมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ในขณะที่หากผลเป็นลบแสดงว่าน่าจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส การเจาะเลือดอาจใช้เพื่อช่วยยืนยันว่าการติดเชื้อเกิดจากแบคทีเรียหรือไวรัส หากแพทย์สงสัยว่าอาการเจ็บคอดังกล่าวเกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ คุณอาจได้รับการส่งต่อให้ไปตรวจเพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ หรือหากคุณมีอาการเจ็บคอเรื้อรังหรือเป็นบ่อย คุณอาจจะต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก
การใช้ยารักษาคออักเสบ
หากคออักเสบของคุณเกิดจากเชื้อไวรัส อาการจะสามารถหายได้เองภายใน 5-7 วันโดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่การใช้ยาปฏิชีวนะจะมีประโยชน์หากการเจ็บคอเกิดจากการติดเชื้อดังต่อไปนี้
•  Streptococcus Group A
•  Chlamydia หรือ Gonorrhea
หากคุณเป็นไข้หวัดใหญ่ การให้ยาต้านไวรัสอาจช่วยในการรักษา
การรักษาอื่นๆ สำหรับคออักเสบ
เชื่อว่าการรักษาเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้
•  นอนพักผ่อน
•  หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
•  ดื่มน้ำอุ่นๆ เช่นชามะนาว หรือชาที่มีน้ำผึ้ง
•  บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น (ผสมเลือ ½ ช้อนชาในน้ำ 1 ถ้วย) ตลอดวัน
•  ดื่มน้ำเย็นหรือรับประทานขนมหวานเย็นๆ เช่นไอศกรีม
•  อมลูกอมหรือยาอม (ในผู้ใหญ่เท่านั้น)
•  ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นให้อากาศ
•  รับประทานยาแก้ปวดเช่น พาราเซตามอล หรือ ibuprofen (Advil, Motrin)



เข้าชม : 165





Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : Limit 100 kB
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ตาก
อำเภอโพธิ์ตาก  จังหวัดหนองคาย 0-4248-3258 , Fax  0-4248-3258 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายจักรพงษ์ จุลสราญพงษ์, นายศุภกิตติ์ ถาวร