เนื้อหา : เรื่องเด่นวันนี้
หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์
หัวข้อเรื่อง : โควิด สายพันธุ์ผสม เดลตาครอน XBC ภัยเงียบที่ต้องเฝ้าระวัง

พุธ ที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565


 


ช่วงเริ่มเข้าฤดูหนาว ปี 2565 มีการพบโควิดในไทยมากขึ้น โดยกรมควบคุมโรคเผยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ติดโควิด-19 เพิ่มขึ้น 12.8% เตือนกลุ่ม 608 และกลุ่มเด็กเล็กที่มีโรคประจำตัว เร่งรับการฉีดวัคซีนโควิดซึ่งคาดว่าช่วงเดือนธันวาคม 2565 จะมีผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนผู้ป่วยเสียชีวิตยังมีแนวโน้มคงตัว ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์

 

รู้จักกับ เดลตาครอน XBC โจมตีปอด แพร่เร็ว

เดลทาครอน XBC ผสมระหว่างสายพันธุ์ "เดลตา" และสายพันธุ์ "โอไมครอน BA.2" พบระบาดในฟิลิปปินส์ กลายพันธุ์ไปมากกว่า XBB และ BQ.1

คุณสมบัติเด่นของ XBC คือ แพร่ได้เร็วเหมือนโอไมครอน แต่รุนแรงและโจมตีปอดเหมือนเดลต้า

ต้นปี 2565 เคยมีรายงานการตรวจพบเดลทาครอนในประเทศฟิลิปปินส์ระยะหนึ่งจากนั้นได้สูญหายไป จนช่วงปลายปี 2565 เดลทาครอน ในประเทศฟิลิปปินส์อีกครั้งในรูปแบบของโควิดสายพันธุ์ XBC, XBA, XAY และ XAW ระบาดขึ้นมาใหม่

 

สายพันธุ์ใหม่ ยังต้องเฝ้าระวัง

เดลตาครอน XBC ยังไม่เข้าไทยในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2565 แต่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะประเทศฟิลิปปินส์หนึ่งในอาเซียนอยู่ใกล้ประเทศไทย และมาตรการผ่อนปรนมากขึ้นกว่าต้นปี 2565 ทำให้มีโอกาสที่จะพบสายพันธุ์ XBC ในหลายประเทศมากขึ้น

ทุกประเทศในอาเซียนที่ตรวจพบ XBB และ XBC รายงานตรงกันว่าผู้ติดเชื้อมีอาการไม่ต่างจากการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม คือ ไม่รุนแรง อัตราการเสียชีวิตต่ำ

จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “กิสเสด (GISAID)” ยังไม่พบสายพันธุ์ลูกผสม XBB และ XBC ในประเทศไทย

 

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เน้นมาตรการตรวจรักษากลุ่ม 608 ที่เริ่มมีอาการป่วย ทั้งมีไข้ ไอ และ ATK พบเชื้อให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโรคโดยเร็ว โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ LAAB (ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป) โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่อาจจะสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้น้อย

คำแนะนำในช่วงนี้ คือ

  • ผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับวัคซีนงดออกจากบ้าน
  • สมาชิกในครอบครัวที่เป็นกลุ่มวัยทำงาน มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสผู้ติดเชื้อนอกบ้าน เช่น ไปสถานบันเทิง ให้งดใกล้ชิดผู้สูงอายุ
  • พาพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอาในบ้าน รวมทั้งเด็กเล็ก เด็กนักเรียน เข้ารับการฉีดวัคซีน ทั้งเข็มแรกหรือเข็มกระตุ้นหากได้รับเข็มสุดท้ายมานานเกิน 4 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนัก และลดระยะเวลาการรักษาโรค ที่พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือญาติต้องลางานเพื่อดูแลรักษาด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: Workpoint Today , TNNศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Credit: https://www.fascino.co.th/article/post/deltacron-nov22

ลิงค์แบบทดสอบออนไลน์ https://shorturl.asia/exK5f

 



เข้าชม : 953


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      การสำรวจประชาชนอายุ 6-18 ปีที่หลุดออกจากระบบการศึกษา Thailand Zero Dropout ครบ ทั้ง 133 คน 7 / พ.ย. / 2567
      กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปีพุทธศักราช 2567 3 / พ.ย. / 2567
      สกร. จัดประชุมชี้แจงจุดเน้นการดำเนินงานและขับเคลื่อนงานของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 3 / พ.ย. / 2567
      พิธีวางพวงมาลา วันปิยมหาราช 2567 23 / ต.ค. / 2567
      งานออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 2567 22 / ต.ค. / 2567