การศึกษาพัฒนาทักษะอาชีพ
ลักษณะงาน
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล และกลุ่มบุคคล ซึ่งมีจุดหมายในชีวิตที่แตกต่างกันโดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. การเรียนรู้อาชีพแบบองค์รวมที่ประชาชน ครู กศน. และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันจัด กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
2. การออกแบบการเรียนรู้งานอาชีพตามลักษณะของงานการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพในรูปแบบการฝึกทักษะอาชีพ การเข้าสู่อาชีพ การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาอาชีพด้วย เทคโนโลยี
3. การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิต โดยใช้วงจรกระบวนการ คิด จำ ทำแก้ปัญหาและพัฒนา
4. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่พัฒนาศักยภาพของบุคคลและชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ สร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์ทำอาชีพ ภายใต้วัฒนธรรมของชุมชน มีกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของชุมชน เป็นชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการแลพัฒนาอาชีพ
แนวทางการจัดกิจกรรม
1. การพัฒนาทักษะอาชีพ สำรวจความต้องการของกลุ่มผู้เรียนและฝึกทักษะอาชีพในลักษณะ หลักสูตรระยะสั้นที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และ ทักษะพื้นฐานในอาชีพ
2. การอบรมเพื่อเข้าสู่อาชีพ จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกทักษะอาชีพหรือจัดเป็นกิจกรรม เฉพาะ เพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
เพื่อเข้าสู่อาชีพ โดยจัดให้มีกระบวนการแนะแนว อาชีพที่มีประสิทธิภาพ
3. การพัฒนาอาชีพ พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายในลักษณะกลุ่มพัฒนาอาชีพโดยจัดให้มีการ รวมกลุ่มของผู้มีอาชีพประเภทเดียวกันเพื่อรวมเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้แสวงหา ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาอาชีพของกลุ่มโดยกระบวนการกลุ่ม
เข้าชม : 1500 |