ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสังคม จัดตั้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2536 โดยนายปราโมท สุขุม รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิกา ลงวันที่ 6 กันยายน 2536
ที่ตั้งการติดต่อ
กศน.อำเภอสังคม ตั้งอยู่หมู่ 4 ตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย รหัสไปรษณีย์ 34160
โทร 042-441474
บุคคลากรสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2557
1.ข้าราชการ 1 คน
2.ครู อาสาสมัคร ฯ 2 คน
3.ครู กศน.ตำบล 9 คน
4.ครู ศรช. 2 คน
5.ครู สอนคนพิการ 2 คน
6.เจ้าหน้าที่ห้องสมุด 1 คน
7.ธุรกา 1 คน
8.แม่บ้าน 1 คน
รวมทั้งสิ้น 19 คน
พื้นที่ในการให้บริการ จำนวน 5 ตำบลกับ 36 หมู่บ้าน ดังนี้
1.ตำบลแก้งไก่ มี 6 หมู่บ้าน
2.ตำบลผาตั้ง มี 7 หมู่บ้าน
3.ตำบลสังคม มี 7 หมู่บ้าน
4.ตำบลบ้านม่วง มี 7 หมู่บ้าน
5.ตำบลนางิ้ว มี 9 หมู่บ้าน
โครงสร้างการบริหารงาน
กลุ่มงานอำนวยการ กลุ่มงานส่งเสริม กลุ่มงานตามอัธยาศัย
1.งานบริหารทั่วไป 1.งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.ห้องสมุดประชาชน
2.งานนโยบายและแผน 2.งานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ 2.แหล่งเรียนรู้
3.งานงบประมาณ/โครงการ 3.งานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
4.งานการเงิน/บัญชี 4.งานการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
5.งานพัสดุ 5.งานส่งเสริมการรู้หนังสือ
6.งานบุคลากร 6.งานพัฒนาด้านเศรษฐกิจพอเพียง
7.งานวิชาการ 7.งานส่งเสริมเครือข่าย
8.งานอาคารสถานที่ 8.งานศูนย์การเรียนชุมชน
9.งานสวัสดิการ 9.การศึกษาตามอัธยาศัย
10.งานประชาสัมพันธ์
11.งานประกันคุณภาพ
12.งานธุรการ
เอตลักษณ์
ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต บนพื้นฐานความพอเพียง มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน
อัตลักษณ์
คิดเป็น ทำเป็น มีทักษะอาชีพ
วิสัยทัศน์
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสังคม เป็นองค์กรที่ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียมกัน และมีความสามารถเชิงการแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
1. จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพเพื่อยกระดับการศึกษา สมรรถนะในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสังคม และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อผนึกกำลังในการพัฒนาคุณภาพของประชากร
3. พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อให้รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชน ส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และศูนย์การเรียนในรูปแบบต่างๆ
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ