งานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
ลักษณะงาน
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล และกลุ่มบุคคล ซึ่งมีจุดหมายในชีวิตที่แตกต่างกันโดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. การเรียนรู้อาชีพแบบองค์รวมที่ประชาชน ครู กศน.ตำบลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันจัด กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
2. การออกแบบการเรียนรู้งานอาชีพตามลักษณะของงานการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
ในรูปแบบการฝึกทักษะอาชีพ การเข้าสู่อาชีพ การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาอาชีพด้วย เทคโนโลยี
3. การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิต โดยใช้วงจรกระบวนการ คิด จำ ทำ แก้ปัญหาและพัฒนา
4. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่พัฒนาศักยภาพของบุคคลและชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ สร้างเครือข่ายอาชีพ
มีระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์ทำอาชีพ ภายใต้วัฒนธรรมของชุมชน มีกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของชุมชน
เป็นชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการแลพัฒนาอาชีพ
แนวทางการจัดกิจกรรม
1. การพัฒนาทักษะอาชีพ สำรวจความต้องการของกลุ่มผู้เรียนและฝึกทักษะอาชีพในลักษณะ หลักสูตรระยะสั้นที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และ ทักษะพื้นฐานในอาชีพ
2. การอบรมเพื่อเข้าสู่อาชีพ จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกทักษะอาชีพหรือจัดเป็นกิจกรรม เฉพาะ เพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
เพื่อเข้าสู่อาชีพ โดยจัดให้มีกระบวนการแนะแนว อาชีพที่มีประสิทธิภาพ
3. การพัฒนาอาชีพ พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายในลักษณะกลุ่มพัฒนาอาชีพโดยจัดให้มีการ รวมกลุ่มของผู้มีอาชีพประเภทเดียวกันเพื่อรวมเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้แสวงหาความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาอาชีพของกลุ่มโดยกระบวนการกลุ่ม
รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งเป็น
หลักสูตร
1) กลุ่มสนใจ (ไม่เกิน 30 ชม.)
2) ชั้นเรียนวิชาชีพ (เกิน 31 ชม.ขึ้นไป)
สาระสำคัญ
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลและกลุ่มบุคคล ซึ่งมีจุดประสงค์ในชีวิตที่แตกต่างกัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ประชาชน ครู กศน. และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟู
เศรษฐกิจชุมชน
2) การออกแบบการเรียนรู้อาชีพตามลักษณะของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ในรูปแบบการฝึกทักษะอาชีพ การเข้าสู่อาชีพ การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี
3) การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิต โดยใช้วงจรกระบวนการคิด ทำ จำ แก้ปัญหาและพัฒนา
4) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่พัฒนาศักยภาพของบุคคลและชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ สร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้และประสบการณ์ทำอาชีพ ภายใต้วัฒนธรรมของชุมชน มีกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการและพัฒนาอาชีพ
นโยบาย
เร่งรัดส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิตให้กับบุคคลและชุมชนเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน
เป้าหมายสาธารณะ
จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล เพื่อให้เกิดความมั่นคงและการเพิ่มมูลค่าให้กับอาชีพ โดยจำแนกกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
1) กลุ่มผู้ต้องการเรียนรุ้ทักษะอาชีพ แต่อาจไม่นำไปประกอบอาชีพก็ได้
2) กลุ่มผู้เข้ารับการอบรมหรือร่วมกิจกรรมเพื่อเข้าสู่อาชีพ
3) กลุ่มผู้มีอาชีพเดียวกัน ที่ต้องการพัฒนาอาชีพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
4) กลุ่มที่ต้องการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้พัฒนาอาชีพของตน
แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
1) การฝึกทักษะอาชีพ วิเคราะห์ความต้องการของผู้ร่วมกิจกรรมและความต้องการของผู้เรียนโดยฝึกทักษะอาชีพ ในลักษณะการศึกษาอาชีพหลักสูตรระยะสั้นหรือกิจกรรมรูปแบบการสาธิตและการปฏิบัติจริง ที่ต้องสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในอาชีพ
2) การเข้าสู่อาชีพ จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกทักษะอาชีพหรือจัดเป็นกิจกรรมเฉพาะเพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ โดยจัดให้มีกระบวนการแนะแนวอาชีพที่มีประสิทธิภาพ
3) การพัฒนาอาชีพ พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายในลักษณะกลุ่มพัฒนาอาชีพ โดยจัดให้มีการรวมกลุ่มของผู้มีอาชีพประเภทเดียวกันเพื่อรวมเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสวงหาความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาอาชีพของกลุ่มโดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
4) การพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยี โดยเน้นการจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมายสถนประกอบและผู้ที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนากิจกรรมและศักยภาพของตนเอง เช่น การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพาณิชย์ (E-Commerce) การจัดสร้างระบบฐานข้อมูลหรือการนำเสนองานด้วยคอมพิวเตอร์ หรือการนำเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มผลผลิต
ตัวชี้วัด
1. เชิงปริมาณ
(1) จำนวนผู้เข้ารับการอบรมและพัฒนาวิชาชีพ
(2) จำนวนผู้สำเร็จตามหลักสูตรที่กำหนด
2. เชิงคุณภาพ
(1) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
(2) ประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ