สืบเนื่องจากนโยบายและยุทธศาสตร์ “2555” ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีนโยบายเน้นในเรื่อการจัดการศึกษาเพื่อการมีอาชีพ มีรายได้และมีงานทำ โดยมีเป้าหมายในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในทุกๆ ด้านในระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้สามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงกำหนดให้หน่วยงานและสถานศึกษาแต่ละแห่งศึกษา 5 ศักยภาพของตนเองในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ ศักยภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติ ศักยภาพด้านภูมิอากาศ ศักยภาพด้านภูมิประเทศ ศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี และศักยภาพด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ (Area Based) และพัฒนา 5 กลุ่มอาชีพใหม่ คือ หลักสูตรกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ ความคิดสร้างสรรค์ และอาชีพเฉพาะทาง ให้สอดคล้องมีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก ประกอบด้วย ทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และแอฟริกา ซึ่งนโยบายดังกล่าวต้องการให้เกิดการบูรณาการในการจัดการศึกษาทุกระดับตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ โดยให้องค์กรและหน่วยงานทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ (จังหวัด) ทั้งภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการรายใหญ่ รายย่อย ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน เน้นให้การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาคน พัฒนางาน และสร้างอาชีพ เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเป็นตัวกำ หนดความเป็นเลิศทางด้านกลุ่มอาชีพหลัก
ดังนั้นเพื่อตอบสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำ นักงาน กศน.ได้ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ โดยจัดให้มีศูนย์ฝึกอาชีพในชุมชน และใช้สถานศึกษา กศน. เป็นฐานการจัดกิจกรรมให้แก่ประชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่บริการ จัดทำ เวทีประชาคมในระดับจังหวัด เพื่อกำหนดกรอบอาชีพของจังหวัดและจัดทำ เวทีประชาคมในระดับอำเภอ โดยการวิเคราะห์ศักยภาพหลัก 5 ด้าน นำ ข้อมูลความต้องการด้านอาชีพของทุกตำบลและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาพิจารณาร่วมกับกรอบหลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ของจังหวัด เพื่อกำหนดเป็นกรอบหลักสูตรอาชีพของอำเภอ
การพัฒนาหลักสูตรต้องสอดคล้องกับกลุ่มอาชีพใหม่ 5 กลุ่ม คือ หลักสูตรกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ ความคิดสร้างสรรค์ และอาชีพเฉพาะทาง โดยการพัฒนาเนื้อหาสาระที่มีองค์ความรู้ครบวงจร ประกอบด้วย โครงสร้างของหลักสูตร 4 ตอน คือ ช่องทางการประกอบอาชีพ ทักษะการประกอบอาชีพ การบริหารจัดการและการจัดทำ โครงการประกอบอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและมีความมั่นใจในการประกอบอาชีพ
การจัดกระบวนการเรียนการสอน เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนของการฝึกปฏิบัติเน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในด้านอาชีพ รวมทั้งการเรียนหรือศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมองเห็นช่องทางการประกอบอาชีพอย่างครบวงจร วิทยากรที่จัดการเรียนการสอน เป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ ในอาชีพ หรือเป็นผู้ที่ประกอบการในอาชีพนั้นๆ
หลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
รายละเอียด หลักสูตร ชุดที่ 1
รายละเอียด หลักสูตร ชุดที่ 2
- หลักสูตร OTOP Mini MBA มี 4 รายวิชา
- การบริหารจัดการธุรกิจสินค้า OTOP จำนวน 60 ชั่วโมง
- ธุรกิจ OTOP ส่งออก จำนวน 60 ชั่วโมง
- การตลาดและช่องทางการจำหน่าย จำนวน 60 ชั่วโมง
- ภาษาอังกฤษธุรกิจ จำนวน 60 ชั่วโมง
รายละเอียด หลักสูตร OTOP Mini MBA
- หลักสูตรกลุ่มอาชีพใหม่ 6 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 20 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรการทำปุ๋ยชีวภาพ
- หลักสูตรการปลูกพืชผักเกษตรอินทรีย์ธรรมชาติ
- หลักสูตรการเพาะเห็ดนางฟ้า - นางรม
- หลักสูตรการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
- หลักสูตรการเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อพลาสติก
- หลักสูตรการเลี้ยงปลาแรดในกระชังด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
- หลักสูตรการขยายพันธุ์พืช
- หลักสูตรการเลี้ยงแพะเนื้อ
- หลักสูตรการผลิตน้ำตาลผงบริสุทธิ์จากอ้อย
- หลักสูตรการเพาะเลี้ยงไส้เดือนและทำปุ๋ยหมัก
- หลักสูตรการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
- หลักสูตรการปลูกยางพารา
- หลักสูตรการเลี้ยงปลาช่อนแม่ลาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
- หลักสูตรการเลี้ยงหมูหลุม
- หลักสูตรการปลูกกล้วยไม้ตัดดอก
- หลักสูตรการขยายพันธุ์บอนสี
- หลักสูตรการปลูกและการแปรรูปกาแฟพันธุ์อาราบิก้า
- หลักสูตรการปลูกข้าวโพดหวาน
- หลักสูตรการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
- หลักสูตรการเลี้ยงโคเนื้อ
- กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรม จำนวน 15 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรการทำเฟอร์นิเจอร์ชุดรับแขกจากยางรถยนต์
- หลักสูตรการทำอิฐบล็อกประสาน
- หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ด
- หลักสูตรการประกอบอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์มะขาม
- หลักสูตรการแปรรูปอาหารแหนมสมุนไพร
- หลักสูตรลวดพันถ้วยรับน้ำยางพารา
- หลักสูตรไม้ลังสร้างอาชีพสร้างรายได้
- หลักสูตรผลิตภัณฑ์ธรรมชาติรักษาโรคผิวหนังสุนัข
- หลักสูตรการทำกรอบรูปเคลือบวิทยาศาสตร์
- หลักสูตรการผลิตและแปรรูปกระดาษสา
- หลักสูตรผ้าด้นมือ
- หลักสูตรนานาไส้กรอก
- หลักสูตรการตีมีด
- หลักสูตรการทำเหล็กดัด
- หลักสูตรการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่ใช้แล้ว
- กลุ่มอาชีพพาณิชยกรรมและบริการ จำนวน 16 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรธุรกิจกาแฟโบราณ
- หลักสูตรเชือกป่านมหัศจรรย์
- หลักสูตรธุรกิจขนมไทย
- หลักสูตรการขายซูชิ
- หลักสูตรธุรกิจอาหารไทยเพื่อการค้า
- หลักสูตรการนวดเพื่อสุขภาพ
- หลักสูตรการทำรั้วลวดหนาม
- หลักสูตรโหราศาสตร์ไทยขั้นพื้นฐาน
- หลักสูตรโหราศาสตร์ไพ่ยิบซี
- หลักสูตรโหราศาสตร์อังคะวิชาธาตุ
- หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวและบริการ
- หลักสูตรการบริการซัก อบ รีด
- หลักสูตรครูโยคะเพื่อสุขภาพ
- หลักสูตรธุรกิจการจัดดอกไม้สด
- หลักสูตรธุรกิจเสริมสวย
- หลักสูตรการบริการรับจัดงานมืออาชีพ
- กลุ่มอาชีพความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 18 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรศิลปะประดิษฐ์จากกระป๋อง
- หลักสูตรภาชนะสวยด้วยการเพ้นท์
- หลักสูตรเครื่องปั้นดินเผาสร้างรายได้
- หลักสูตรการทำผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยและกระดาษกล้วย
- หลักสูตรช่างเขียนภาพลายเส้น
- หลักสูตรช่างเขียนภาพสีน้ำ ประเภทภาพทิวทัศน์
- หลักสูตรช่างเขียนภาพสีน้ำ ประเภทภาพบุคคล
- หลักสูตรช่างเขียนภาพสีน้ำ ประเภทภาพหุ่นนิ่ง
- หลักสูตร การออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า
- หลักสูตร การสร้างโอ่งก๊าชชีวภาพ
- หลักสูตรการออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูป
- หลักสูตรการจัดและตกแต่งสวนหย่อม
- หลักสูตรงานใบตอง
- หลักสูตรการประกอบอาชีพการซ่อมแซมและดัดแปลงรูปทรงเสื้อผ้า
- หลักสูตรการทอผ้าไหมสุรินทร์
- หลักสูตรการทำผลิตภัณฑ์จากใยสับปะรด
- หลักสูตรบ้านดิน วิธีง่าย ๆ ของคนอยากมีบ้าน
- หลักสูตรการสร้างแอนิเมชัน 2 มิติ (2D Animation) เพื่อธุรกิจ
- กลุ่มอาชีพเฉพาะทาง จำนวน 20 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคาร
- หลักสูตรการซ่อมคอมพิวเตอร์
- หลักสูตรช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ (แอร์)
- หลักสูตรธุรกิจเถ้าแก่โฮมสเตย์
- หลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
- หลักสูตรธุรกิจสปา
- หลักสูตรการทำมุ้งลวด
- หลักสูตรอาชีพช่างไม้ 1
- หลักสูตรช่างปะผุ เคาะพ่นสีรถยนต์
- หลักสูตรช่างปูกระเบื้อง
- หลักสูตร ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์เบื้องต้น
- หลักสูตรการดูแลสตรีหลังคลอด
- หลักสูตร การซ่อมกระเป๋า –รองเท้า
- หลักสูตรขายข้าวราดแกงเงินล้าน
- หลักสูตรการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
- หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ
- หลักสูตรเทคนิคการถ่ายรูปและการตกแต่งภาพด้วยคอมพิวเตอร์
- หลักสูตรช่างซ่อมเครื่องยนต์ดีเซล
- หลักสูตรธุรกิจการทำผ้าบาติก
- หลักสูตรร้านซ่อมโทรศัพท์มือถือ
- กลุ่มภาษาต่างประเทศเพื่อการอาชีพ จำนวน 6 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพพนักงานขายสินค้า
- หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ พนักงานบริการที่พัก/แม่บ้าน
- หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพพนักงานขับรถรับจ้าง
- หลักสูตรภาษาจีนเพื่ออาชีพพนักงานขายสินค้า
- หลักสูตรภาษาจีนเพื่ออาชีพ พนักงานบริการที่พัก/แม่บ้าน
- หลักสูตรภาษาจีนเพื่ออาชีพพนักงานขับรถรับจ้าง
สำนักงาน กศน.จังหวัดหนองคาย
มอบนโยบายให้สถานศึกษาในสังกัดเร่งดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพตามหลักสูตร OTOP Mini MBA เน้นเนื้อหาในเรื่อง การบริหารจัดการธุรกิจสินค้า OTOP การตลาดและช่องทางการจำหน่าย และภาษาอังกฤษธุรกิจ ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำและมีรายได้ ของกระทรวงศึกษาธิการ ไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม จัดให้มีศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัด 1 แห่ง ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอำเภอ 18 แห่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการฝึก พัฒนา สาธิต สร้างอาชีพของผู้เรียน ชุมชน รวมทั้งเป็นที่จัดเก็บ แสดง จำหน่าย และกระจายสินค้าและบริการของชุมชน เปิดสอน 5 หลักสูตร ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน คือ หลักสูตรเกษตรกรรม หลักสูตรอุตสาหกรรม หลักสูตรพาณิชยกรรม หลักสูตรเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และหลักสูตรการจัดการและบริการ วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนที่เข้ารับการฝึกอบรมมีอาชีพและมีรายได้จากการประกอบอาชีพตามที่ฝึกอบรม และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเทียบโอนความรู้สู่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในสังกัด กศน.
หลักสูตรที่สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดหนองคาย
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในปีงบประมาณ 2557
- กศน.อำเภอเมืองหนองคาย
- Mini MBA เพื่อการบริหารจัดการ
- การนวดเพื่อสุขภาพ
- การแปรรูปกระเป๋าจากไม้ไผ่
- ธุรกิจขนมไทย
- กล้วยแปรรูป
- การเพาะเห็ดนางรม
- การจักสานกระติบข้าวจากไม้ไผ่
- เสริมสวยเบื้องต้น
- ผลิตภัณฑ์จากยางรถยนต์
- การนวดแผนไทย
- อาหาร-ขนม
- การนวดฝ่าเท้า
- การเลี้ยงจิ้งหรีด
- การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
- การแปรรูปจากผลิตภัณฑ์ยาง
- การปลูกผักปลอดสารพิษ
- ธุรกิจกาแฟสด
- การทำเบเกอรี่
- กศน.อำเภอท่าบ่อ
- การเลี้ยงจิ้งหรีด
- การทอเสื่อกก
- การเพาะเห็ดนางฟ้า-นางรม
- การเลี้ยงไก่ไข่
- ศิลปะประดิษฐ์ (ทำพานพุ่มพลาสติก)
- การทำบันไดจากไม้ไผ่
- การเพาะพันธุ์ปลาในบ่อซีเมนต์
- การเลี้ยงไก่พื้นเมือง
- การทอผ้าหมี่ขิด
- ไข่เค็มไอโอดีน
- แปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา
- หมอยาสมุนไพรใช้ในครัวเรือน
- จักสานไม้ไผ่
- ทอผ้าพื้นเมือง
- ปั้นเตาซุปเปอร์อั้งโล่
- กศน.อำเภอโพนพิสัย
- การเลี้ยงจิ้งหรีด
- การเพาะเห็ดนางฟ้า
- การเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อพลาสติก
- การนวดฝ่าเท้า
- การซ่อมคอมพิวเตอร์
- การทำอาหาร-ขนม
- การเลี้ยงไก่ไข่
- การปลูกผักสวนครัว
- พัฒนาอาชีพชุมชนสู่ประชาคมอาเซียน
- กศน.อำเภอศรีเชียงใหม่
- การเพาะเห็ดนางฟ้า
- การเลี้ยงหมูหลุม
- ซ่อมคอมพิวเตอร์
- ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร
- ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
- การปลูกผักผลอดสารพิษ
- การซ่อมบำรุงดูแลรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
- กศน.อำเภอสังคม
- ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
- การเลี้ยงหมูหลุม
- เพาะเห็ดนางฟ้าเพื่อการมีงานทำ
- ทอผ้าพื้นเมือง
- ผลิตภัณฑ์จากรากไม้ประดิษฐ์
- ผลิตภัณฑ์จากกล้วย
- การทำผ้าห่มจากเศษผ้าเพื่อการมีงานทำ
- การเลี้ยงไก่พื้นเมือง
- กศน.อำเภอสระใคร
- ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์
- ช่างซ่อมเครื่องยนต์
- การเพาะเห็ดฟาง
- การเลี้ยงไก่ไข่
- การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
- การปลูกผักปลอดสารพิษ
- เพาะเห็ดบด
- เพาะเห็ดหูหนู
- กศน.อำเภอเฝ้าไร่
- การเลี้ยงจิ้งหรีด
- การผลิตกล้วย
- การทอเสื่อกกประยุกต์
- วิชาช่างเชื่อม
- การแปรรูปกระเทียม
- การสานเส้นพลาสติก
- ผลิตภัณฑ์จากเศษไม้
- ผลิตภัณฑ์จากต้นคล้า
- ช่างปูกระเบื้อง
- การเลี้ยงไก่ไข่เสริมไอโอดีน
- การเลี้ยงไก่พันธุ์
- ปลูกผักปลอดสารพิษ
- กศน.อำเภอรัตนวาปี
- การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
- การเลี้ยงไก่พื้นเมือง
- ช่างปูกระเบื้อง
- ธุรกิจขนมไทย
- การเลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อซีเมนต์
- เพาะเห็ดนางฟ้า-นางรม
- หลักสูตรอาหารไทยเพื่อการค้า
- หลักสูตรธุรกิจขนมไทย
- การทำข้าวโป่งพื้นบ้าน
- หลักสูตรภาษาเพื่อการสื่อสารและการประกอบอาชีพ
- ศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพื่อการประกอบอาชีพ
- กศน.อำเภอโพธิ์ตาก
- การทำปุ๋ยอินทรีย์
- การซ่อมคอมพิวเตอร์
- การทำขนมจากแป้งข้าวจ้าวในท้องถิ่น
- การปลูกข้าวอินทรีย์
- การแปรรูปอาหารและสมุนไพรไทย
- การทำปุ๋ยและอาหารสัตว์
รายงาน: กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนา
ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557